ร้านหนังสือ

ในจีน ธุรกิจร้านหนังสือ เพิ่ม 4,000 แห่ง ใน 19 ปี อัตราคนรู้หนังสือ เกือบ 100%

ในปัจุบัน ธุรกิจหนังสือแบบเก่า ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อาจจะกำลังประสบปัญหา กับความท้าทายที่มาจากเทคโนโลยี ที่ได้เข้ามาช่วงชิง ตลาดผู้อ่านหนังสือ ไปสู่จอบนแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งสร้างความสะดวกสบาย ในการใช้งานและพกพา จำทำให้ธุรกิจร้านหนังสือแบบเก่าๆ ต้องดิ้นรนหาทางอยู่รอด ในการประกอบธุรกิจ

เหตุการณ์ข้างต้น ที่ได้กล่าวไปนั้น กับเกิดขึ้นแบบตรงกันข้าม ในประเทศจีน เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ได้มีรายงานที่เผยแพร่ออกมา ในการประชุมร้านหนังสือ แห่งประเทศจีนประจำปี 2021 โดยมีเนื้อหาใจความ ที่สรุปได้ว่า ในประเทศจีนตอนนี้ มีร้านหนังสือเพิ่มขึ้น เป็นจำนวณถึง 4000 ร้านทั่วประเทศ และเมืองอันดับหนึ่ง ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองชั้นนำ ของประเทศด้านธุรกิจร้านหนังสือ ก็คือ กรุงปักกิ่ง

ท่ามกลางการแพร่ระบาด อย่างรุนแรง ของไวรัสโควิด – 19 ในกรุงปักกิ่ง มีร้านหนังสือเปิดใหม่ 639 แห่งในปี 2020 อีกทั้ง เมืองปักกิ่ง ร้านหนังสือเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการสนับสนุน เชิงนโยบายจากภาครัฐ และมีการปรับปรุง สินค้าอย่างรวดเร็ว จึงได้รับตำแหน่ง “เมืองหลวงแห่งร้านหนังสือ” ในปี 2020

ร้านหนังสือ

การประชุมร่วมที่จัด โดยสมาคมผู้จัดจำหน่ายหนังสือ และวารสารแห่งประเทศจีน กับสถาบันวิจัยการพิมพ์เป่ยต้าว (BNPI)

ได้ทำการสำรวจแนวโน้ม ในอนาคตของร้านหนังสือในจีน ซึ่งรวมถึงนวัตกรรม ด้านบริการการอ่านต่างๆ แม้ว่าในช่วงที่เกิดโรคระบาด ร้านหนังสือแบบมีหน้าร้านหลายแห่งได้รับผลกระทบ เพราะจะต้องมีการปิดร้านจากมาตรการปิดเมือง ทำให้ผู้คนหันมาซื้อหนังสือประเภทอีบุ๊ก จากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแทน ซึ่งแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดไปมากพอสมควร

ในช่วงเวลาที่ร้านหนังสือไม่สามารถเปิดการขายได้นั้น เฉิง ซาน กั๋ว ผู้อำนวยการสถาบันฯ ระบุว่า ร้านหนังสือต่างๆ ใช้วิธีการจัดกิจกรรมไลฟ์สตรีมมิง และการดำเนินธุรกิจออนไลน์ เพื่อการขายหนังสือ ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบของโรคระบาด ที่มีต่อยอดขายของร้านหนังสือ แม้จะต้องเผชิญกับการแข่งขันเทคโนโลยี

แต่หนังสือแบบเป็นเล่มยังคงได้รับความนิยมจากชาวจีน ซึ่งมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกปี ข้อมูลจากสำนักงานสื่อ และสิ่งพิมพ์แห่งชาติของจีน (National Press and Publication Administration – NPPA) ระบุว่า อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของจีนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดจากจำนวนสำนักพิมพ์ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 105 แห่ง เป็นกว่า 580 แห่งในปัจจุบัน

ทำไมคนจีน ยังนิยมอ่านหนังสือ เป็นเล่ม

ประเทศจีน นับเป็นประเทศที่มีอัตราการแข่งขัน ของประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากประชากรที่มีมากถึง 1,400 ล้านคน ทำให้ทุกคนต้องพยายามช่วงชิง การเป็นที่หนึ่งในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ของชาวจีนถูกปลูกฝังมาตั้งแต่อดีต และครอบครัวจะเขี้ยวเข็น ให้ลูกอ่านหนังสือ

เพราะคนจีนเชื่อว่า ความรู้คือสิ่งนำทางที่ดีที่สุดในการไปสู่ความสำเร็จของชีวิต และความรู้ที่หาได้ง่ายที่สุดคือ “การอ่านหนังสือ” นั่นเอง และด้วยนิสัยรักการอ่าน ที่ปลุกฝังกันมารุ่นต่อรุ่นทำให้ ร้านหนังสือจึงเป็นสถานที่ที่พ่อแม่มักพาลูกๆ ตัวเล็กๆ ไปเดินหาหนังสือที่เหมาะสมกับวัย การพบเจอเด็กเล็กที่มากับพ่อแม่ ในร้านหนังสือแทบจะเป็นเรื่องปกติ ในประเทศจีน

หรือแม้แต่ในห้องสมุดประชาชน ก็จะมีกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยเข้าไป ใช้บริการอย่างเนืองแน่น ยิ่งเป็นช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัย ระดับแนวหน้าของประเทศด้วยแล้ว ห้องสมุดแทบจะต้องจองคิว เพื่อใช้บริการกันเลยทีเดียว

การอ่านหนังสือ = การคลายเครียดของ คนจีน
นอกจากนี้การอ่านหนังสือสำหรับชาวจีนแล้วคือการผ่อนคลายความเครียดอย่างหนึ่ง ซึ่งหนังสือที่อ่านก็มีหลายประเภทให้เลือก รวมทั้งหนังสือที่มา จากต่างประเทศก็มีราคาที่ค่อนข้างถูก ทำให้เข้าถึงการอ่านได้ง่าย ร้านหนังสือไม่ใช่เพียงแค่สถานที่ซื้อขายหนังสือ เป็นเป็นจุดนัดพบ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นมุมกาแฟเพื่อการนั่งชิลๆ

และจมอยู่กับตัวอักษรบนกระดาษได้ทั้งวัน หรือหากใครชื่นชอบการอ่านหนังสือดึกๆ แต่ไม่อยากอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ก็สามารถไปใช้บริการห้องสมุดที่เปิด 24 ชั่วโมงตามเมืองต่างๆ ได้อีกด้วย ประเทศจีนมีอัตราการรู้หนังสือของประชากรสูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

โดยผู้ใหญ่มีอัตราการรู้หนังสือถึง 96.4% ส่วนประชากรวัย15 – 24 ปีมีอัตราการรู้หนังสือถึง 99.7% และอัตราการอ่านหนังสือเฉลี่ยที่ 9 เล่มต่อปี ซึ่งถ้าคำนวนโดยใช้ฐานของประชากรมากกว่า 1,400 ล้านคน เท่ากับว่ามีสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีประชากร หลักสิบล้าน หรือร้อยล้านคน

ขอบคุณ แหล่งที่มา : reporter-journey.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : activeinksoftware.com