การ Time out หรือ การเข้ามุม คือเทคนิคการแยกเด็กออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กใช้เวลานอกในการสงบ ระงับอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตัวเอง ในบางครั้งเด็กๆ สุดน่ารักของคุณพ่อคุณแม่ก็กลายเป็นปีศาจตัวน้อยที่ไม่ยอมฟังใคร ดื้อแบบสุดๆ งอแงแบบไม่เกรงใจใคร การ Time out เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยได้

การ Time out อย่างไร ไม่ให้เกิดผลเสียต่อเด็ก

การ Time out เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับในการจัดการพฤติกรรมปัญหาของเด็กมานานหลายทศวรรษแล้ว และเป็นส่วนสำคัญของโครงการฝึกอบรมผู้ปกครองจำนวนมาก ซึ่งกุมารแพทย์ส่วนใหญ่ก็ได้แนะนำให้ใช้เทคนิคนี้ เพื่อลดพฤติกรรมเชิงลบของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุยไปจนถึงการแสดงออกที่ก้าวร้าวทางร่างกาย ซึ่งนักวิจัยระบุว่าหากใช้เทคนิคนี้อย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เกิดประโยชน์และไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีนักวิจารณ์ได้ออกมาโต้แย้งว่า การใช้เทคนิคการ Time out จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่จะทำให้เด็กๆ รู้สึกถูกทอดทิ้งในช่วงวิกฤตทางอารมณ์ ยิ่งเป็นการนำไปสู่การต่อสู้ทางอารมณ์หรือพฤติกรรมมากขึ้น แทนที่จะสอนให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง จากข้อโต้แย้งนี้เองจึงได้มีการนำเอาเทคนิคการ time in เข้ามาใช้ โดยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยเด็กในการสงบสติอารมณ์ โดยการแสดงความเห็นอกเห็นใจ คอยปลอบ หรือนั่งข้างๆ เวลาที่เด็กโกรธหรือโมโห

ข้อถกเถียงสำหรับการใช้ Time out

การใช้วิธีการ Time out กับเด็ก เคยเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการจัดการกับพฤติกรรมปัญหาของเด็ก เริ่มมีใช้ตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งได้รับความนิยมมากในยุคนั้น ซึ่งเชื่อว่าปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะเด็กๆ ต้องการเรียกร้องความสนใจ เพราะฉะนั้นการใช้วิธีการ Time out จึงเป็นการแยกเด็กเพื่อไม่ให้ได้รับความสนใจจากการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ได้รับความสนใจ

แต่ในปี 2014  นิตยสาร Time ระบุว่า การใช้วิธีการ Time out เป็นวิธีที่ทำร้ายเด็ก ส่งผลให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาถึงผลของการใช้เทคนิคนี้ โดยผู้เขียน Drs. Daniel J. Seigel และ Tina Payne Bryson ได้เขียนไว้ว่า จากหลายๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประสบการณ์แรกที่เด็กได้สัมผัสกับการถูก Time out คือความรู้สึกที่ถูกทอดทิ้ง ถึงแม้ว่าจะลงโทษด้วยความความใจเย็นหรืออดทนก็ตาม เพราะการ Time out จะสอนให้เด็กๆ รู้สึกว่า ตอนที่พวกเขาทำความผิด หรือกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ลำบากอยู่นั้น เขากลับถูกลงโทษโดยการให้อยู่คนเดียว ซึ่งบทเรียนเหล่านี้หากถูกลงโทษกับเด็กวัยเล็ก พวกเขาจะยิ่งรู้สึกว่ากำลังถูกปฎิเสธหรือทอดทิ้ง

การปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง จะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกโกรธมากขึ้นมากเดิม ซึ่งบทความนี้ได้อ้างอิงมาจากการศึกษาทางด้านประสาทวิทยา ที่แสดงส่วนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดที่เกิดจากการถูกปฏิเสธนั้น ได้แสดงภาพของสมองที่มีความเจ็บที่คล้ายคลึงกับความเจ็บปวดจากการได้บาดเจ็บทางร่างกาย เช่น เวลาที่เดินสะดุดนิ้วเท้า

แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทั้ง Siegel และ Bryson ก็ได้ออกมากล่าวชี้แจ้งถึงความสับสนที่ตนได้เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ และชี้แจงว่าจริงๆ แล้วการใช้เทคนิค Time out นั้นเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับ หากใช้ให้เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งการ Time out ที่เหมาะสมนั้น ก็ควรจะใช้เมื่อถึงสถานการณ์ที่จำเป็น ไม่บ่อยจนเกินไป และควรได้รับการใส่ใจโดยการให้ feedback ในเชิงบวกหลังจากนั้นเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของผลของการกระทำที่เกิดขึ้น เพื่อให้เด็กเข้าใจถึงสาเหตุของการ Time out

ขั้นตอนในการ Time out

  • สังเกตพฤติกรรมของเด็กและเริ่มเตือน

เมื่อเด็กๆ เริ่มทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ฟังคำสั่ง ผู้ปกครองควรเริ่มเตือนหรือแจ้งให้เด็ก ๆ รู้ก่อนว่า หากไม่ทำตามจะต้องถูก time out เช่น หากบอกให้เด็กหยุดขว้างปาของเล่นใส่กัน ก็ต้องบอกว่าให้เด็กหยุดขว้างปาก่อน ถ้าหากไม่หยุดจะต้องถูก time out หลังจากที่ได้เตือนไปแล้ว ให้รอประมาณ 5 วินาที หากเด็ก ๆ หยุดทำ ก็ควรชื่นชมทันทีที่ฟังคำสั่งและหยุดขว้างปาของเล่นได้ แต่หากเด็ก ๆ ยังไม่หยุดพฤติกรรมในการขว้างปาสิ่งของหลังจากได้รับการเตือน ก็ควรได้รับการ Time out ทันที

  • บอกเหตุผลว่าทำไม

ผู้ปกครองต้องบอกถึงสาเหตุว่าทำไมเด็ก  จะต้องถูก time out ก่อน เช่น บอกกับลูกว่า หนูต้องถูก time out แล้ว เพราะว่าหนูไม่หยุดขว้างปาสิ่งของ และคุณต้องพูดแค่ครั้งเดียว ด้วยน้ำเสียงที่กระชับ โดยบอกสาเหตุที่ลูกถูก time out และคุณจะต้องห้ามทำสิ่งเหล่านี้

  1. สั่งสอน ดุ หรือเถียงกับลูก
  2. ห้ามรับคำแก้ตัวของลูก
  3. ห้ามคุยกับลูกในขณะที่ลูกอยู่ในมุม time out
  4. หลีกเลี่ยงการตะโกน การประท้วง และสัญญาว่าจะทำดี
  • ให้เด็กนั่งอยู่ในมุม Time out

หากลูกๆ ปฏิเสธที่จะถูก time out ผู้ปกครองสามารถพาลูกไปที่มุม โดยการนำทางให้ไปยังมุมที่นั่งสำหรับ time out หรือค่อย ๆ อุ้มลูกไปเพื่อให้เขานั่งในพื้นที่สำหรับการ time out และบอกให้ลูกนั่งอยู่ตรงบริเวณนั้น และจะลุกขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อผู้ปกครองอนุญาต ในระหว่างที่เด็กกำลังถูก time out นั้น จะต้อง

  • ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นคุยกับเด็ก
  • ไม่อนุญาตให้เด็กเล่นของเล่นใดๆ ในเวลานั้น

สิ้นสุดการทำ Time out

สำหรับการ Time out สำหรับเด็กเล็กวัยหัดเดินหรือก่อนเข้าเรียน ควรใช้ระยะเวลาประมาณ  2-5 นาที กฎในการให้ time out ควรใช้เวลาให้เหมาะกับช่วงอายุปีของเด็ก เช่น เด็กอายุ 1 ปี ควรใช้เวลา 1 นาที เด็กอายุ 2 ปี ควรใช้เวลา 2 นาที หรือเด็กอายุ 3 ปี ควรใช้เวลา 3 นาที เป็นต้น

ก่อนจะหยุดการถูก time out นั้น ผู้ปกครองควรจะดูว่าเด็กๆ เงียบหรือยัง ลองสังเกตอาการอย่างน้อย 5 วินาทีก่อนที่เวลาของ time out ใกล้จะหมด ผู้ปกครองจึงค่อยบอกให้เด็กลุกขึ้นได้ และหากลูกๆ ถูก time out เพราะสาเหตุจากการแสดงออกทางพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองหรือคนรอบข้าง ก็ควรบอกให้ลูกรู้ก่อนหยุด time out เช่น อย่าลืมกฎของที่บ้านนะ ว่าห้ามทำร้ายร่างกายคนอื่น หรือทำให้คนอื่นเจ็บ

พยายามชื่นชมในสิ่งดีๆ ที่ลูกจะได้ทำต่อไป ลองหาโอกาสให้ลูกๆ ปฎิบัติตามคำสั่งอย่างอื่น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนการทำฟังและทำตามคำสั่ง และชื่นชมในสิ่งที่ลูกพยายามทำ ซึ่งในบางครั้ง หากการ time out อาจจะไม่ได้ผลหรือเด็กยังไม่ทำตามคำสั่ง ผู้ปกครองอาจจะต้องให้เด็ก time out ในครั้งต่อไป เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงกฎกติกาที่ผู้ปกครองจะทำจริงๆ หากพวกเขาไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การ Time out

Time out และ Time in คืออะไร

Time out เป็นการแยกเด็กออกมาจากการได้รับแรงเสริมทางบวกหรือแยกออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กใช้เวลานอกในการสงบสติอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม และเมื่อเด็กๆ สงบสติลงก็สามารถกลับไปยังสิ่งที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้ได้นั้นเอง

Time in คือ เมื่อใดที่ลูกของเราเริ่มโวยวาย หงุดหงิด หรือผิดหวังในเรื่องใดๆ ก็ตาม แทนที่เราจะไล่เขาไปนั่งสงบสติหรือสำนึกผิดอย่างเดียวดาย โดยที่เราไม่ให้ความสนใจใดๆ แก่เขาเลย แล้วเปลี่ยนเป็นการที่เราคุณพ่อคุณแม่ไปนั่งข้างๆ เขา เพื่อที่จะช่วยสงบสติอารมณ์ หามุมหรือสถานที่สงบๆและเข้าไปนั่งด้วยนั้นเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยเขาปลอบให้อารมณ์เย็นลง หรือเพียงแค่สงบสติเงียบๆ อยู่ข้างๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยังอยู่ข้างๆ เสมอและพร้อมจะช่วยเขาในเวลาที่เจอปัญหานั้นเอง

สถานการณ์ไหนควรใช้การ Time out หรือ Time in

เมื่อเด็กๆ ทำความผิด อันดับแรกที่คุณพ่อคุณแม่ทำโทษควรจะเป็น Time in โดยการแสดงถึงความรัก ความห่วงใย และคอยปลูกฝังให้เขาปฏิบัติตัวเป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอนั้นเอง โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ร่าเริง เขามักจะเปิดรับความรู้ใหม่ๆ และซึมซับความอบอุ่นจากคนรอบข้างได้ดี เพราะฉะนั้นการทำโทษแบบ Time in  เรียกได้ว่าเป็นการทำโทษแบบอบอุ่น ควรจะเป็นการปลูกฝังเป็นอันดับแรก

แต่หากเด็กไม่ยอมทำตามหรือยังทำตัวไม่น่ารักแบบเดิม คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีทำโทษแบบ Time out มาจัดการกับลูกน้อยในลำดับต่อไปนั้นเอง ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอ

ข้อจำกัดในการใช้การ Time out และ Time in

Time out

  • วิธีการนี้เหมาะสมกับเด็กช่วงอายุ 2-3 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการรักษากฎต่างๆ
  • หากเด็กอายุ 2 ขวบ ควรเริ่มจากระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 30 วินาที หรือ 1 นาที
  • ต้องบอกเหตุผลให้เด็กๆ ได้รู้ในการทำโทษแบบ Time out

Time in

  • เมื่อลูกอาละวาด เราต้องเข้าประกบลูกทันที กอดเขาและอยู่ข้างๆ ให้ใจเย็นแม้จะเป็นสิ่งที่ดูไม่มีเหตุผลในสายตาเรา
  • Time in ไม่ใช่การให้รางวัลเด็ก
  • อารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ขณะที่จะทำ Time in ต้องสงบเพียงพอ

วิธีทำการ Time out และ Time inให้ได้ผล

Time out

  • ควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น เพื่อให้ดูจริงจังและจะทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้นว่าการกระทำของตัวเองยังไม่ถูกต้อง
  • เลือกบริเวณในการ Time out โดยแยกจากส่วนที่ทำกิจกรรม อาจจะเป็นมุมห้องหรือพื้นที่ที่เรายังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง ไม่ขึ้นเสียง ให้เขาใจเย็น เป็นการสงบสติอารมณ์ของลูกนั้นเอง
  • หลังจากการ Time out แล้วควรโอบกอด เพื่อให้เขามั่นใจว่าคุณรักเขา แต่การกระทำของลูกยังไม่เหมาะสม ไม่ควรทำก็เท่านั้นเอง

Time in 

  • เข้าไปประกบลูกหรือกอดลูกไว้จากด้านหลัง เมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือทางอารมณ์
  • สัมผัสตัว กอด ประกบตัวไว แล้วพาไปมุมที่สงบและรู้สึกสบายด้วยกัน
  • คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยด้วยการฟัง แสดงความเข้าใจ และสะท้อนสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก
  • ปลอบให้ลูกสงบ และชวนคิดหาทางออกเมื่อเขาสงบลงแล้ว

ข้อดีของการ Time out และ Time in

  • ไม่ปลูกฝังนิสัยรุนแรงให้กับเด็ก
  • ไม่ทิ้งบาดแผลในใจ
  • ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเอง
  • เด็กๆ จะได้ระบายความรู้สึก ในขณะที่สอนได้ด้วย
  • เด็กๆ จะไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง เพราะพ่อแม่อยู่ด้วยตลอดเวลา

 

วิธีการ Time out หรือ Time in นั้น เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรเลือกใช้ปฏิบัติเพื่อให้เข้ากับเด็กและสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่สามารถใช้อย่างใดอย่างหนึ่งได้ตลอดทุกครั้ง สิ่งสุดท้าย คือเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกปรับใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยของลูกเพื่อให้ลูกไม่รู้สึกเครียดหรือกดดันมากเกินไปแล้วอย่าลืมหมั่นเติมความรักและความเข้าใจให้เขาอย่างสม่ำเสมอด้วยเพื่อให้เด็กๆรู้สึกถึงความปลอดภัยและห่วงใยจากพ่อแม่ด้วย

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  activeinksoftware.com
สนับสนุนโดย  ufabet369